วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

3.1 การจัดเก็บข้อมูล

เรื่องที่ 1 การจัดเก็บข้อมูล
          การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการมีความหมายรวมทั้งการเก็บข้อมูลขั้นมาใหม่ และการรวบรวมข้อมูลจากผู้อื่นที่ได้เก็บไว้แล้ว หรือได้รายงานไว้ในเอกสารต่างๆ เพื่อนำมาศึกษาต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายวิธี ดังนี้
          1. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงาน (Reporting System) เป็นผลพลอยได้จากระบบการบริหารงาน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานที่ทำไว้หรือจากเอกสารประกอบการทำงาน ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานส่วนมากใช้เพียงครั้งเดียว จากรายงานดังกล่าว อาจมีข้อมูลเบื้องต้นบางประเภทที่สามารถนำมาประมวลเป็นยอดรวมข้อมูลสถิติได้ วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานของหน่วยบริหาร นับว่าเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลสถิติโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมากนัก ค่าใช้จ่ายที่ ใช้ส่วนใหญ่ก็เพื่อการประมวลผล พิมพ์แบบฟอร์มต่างๆ ตลอดจนการพิมพ์รายงาน วิธีการนี้ใช้กันมาก ทั้งในหน่วยงานรัฐบาลและเอกชน หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลสถิติที่รวบรวมจากรายงาน ได้แก่ กรมศุลกากร มีระบบการรายงานเกี่ยวกับการส่งสินค้าออก และการน่าสินค้าเข้า และกระทรวงศึกษาธิการ มีรายงานผล การปฏิบัติงานของโรงเรียนภายในสังกัด ซึ่งสามารถน่ามาใช้ในการประมวลผลสถิติทาง การศึกษาได้
          2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทะเบียน (Registration) เป็นข้อมูลสถิติที่รวบรวมจากระบบ ทะเบียน มีลักษณะคล้ายกับการรวบรวมจากรายงานตรงที่เป็นผลพลอยได้เช่นเดียวกัน จะต่างกันตรงที่ แหล่งเบื้องต้นของข้อมูลเป็นเอกสารการทะเบียนซึ่งการเก็บมีลักษณะต่อเนื่อง มีการปรับแก้หรือเปลี่ยนแปลง ให้ถูกต้องทันสมัย ทำให้ได้สถิติที่ต่อเนื่องเป็นอนุกรมเวลา ข้อมูลที่เก็บโดยวิธีการทะเบียน มีข้อรายการ ไม่มากนัก เนื่องจากระบบทะเบียนเป็นระบบข้อมูลที่ค่อนข้างใหญ่ ตัวอย่างข้อมูลสถิติที่รวบรวมจาก ระบบทะเบียน ได้แก่ สถิติจำนวนประชากรที่กรมการปกครอง ดำเนินการเก็บรวบรวมจากทะเบียนราษฎร์ ประกอบด้วย จำนวนประชากร จำแนกตามเพศเป็นรายจังหวัด อำเภอ ตำบล นอกจากทะเบียนราษฎร์แล้ว ก็มีทะเบียนยานพาหนะของกรมตำรวจที่จะทำให้ได้ข้อมูลสถิติจำนวนรถยนต์ จำแนกตามชนิดหรือ ประเภทของรถยนต์ เป็นด้น
          3. การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำมะโน (Census) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติของทุกๆ หน่วยของประชากรที่สนใจศึกษาภายในพื้นที่ที่กำหนด และภายในระยะเวลาที่กำหนด การเก็บรวบรวม ข้อมูลสถิติด้วยวิธีนี้ จะทำให้ได้ข้อมูลในระดับพื้นที่ย่อย เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และทำให้ได้ข้อมูลที่ เป็นค่าจริง
ตามพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ.2508 ได้บัญญัติไว้ว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงาน เดียวที่สามารถจัดทำสำมะโนได้ และการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติด้วยวิธีการสำมะโน เป็นงานที่ต้องใช้ เงินงบประมาณ เวลาและกำลังคนเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะจัดทำสำมะโนทุก ๆ 10 ปี หรือ 5 ปี
          4. การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำรวจ (Sample Survey) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ จากบางหน่วยของประชากรด้วยวิธีการเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติด้วยวิธีนี้ จะทำให้ได้ข้อมูลในระดับรวม เช่น จังหวัด ภาค เขตการปกครอง และรวมทั่วประเทศ และข้อมูลที่ได้จะเป็นค่า โดยประมาณ การสำรวจเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้งบประมาณ เวลา และกำลังคนไม่มากนัก จึงสามารถจัดทำได้เป็นประจำทุกปี หรือทุก 2 ปี ปัจจุบันการสำรวจเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่มี ความสำคัญ และใช้ลันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ทั้งในวงการราชการและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจ เพื่อหาข้อมูลทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม สาธารณสุข การคมนาคม การศึกษา และข้อมูลทาง เศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ เป็นต้น
          5. วิธีการสังเกตการณ์ (Observation) เป็นวิธีเก็บข้อมูลโดยการสังเกตโดยตรงจากปฏิกิริยา ท่าทาง หรือเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ ที่เถิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่ง และจดบันทึกไว้โดยไม่มีการ สัมภาษณ์วิธีนี้ใช้กันอย่างกว้างขวางในการวิจัย เช่น จะศึกษาดูปฏิกิริยาของผู้ขับรถยนต์บนท้องถนน ภายใต้สภาพการณ์จราจรต่าง ๆ ลัน ก็อาจจะส่งเจ้าหน้าที่ไปยืนสังเกตการณ์ได้ การสังเกตจำนวนลูกค้า และบันทึกปริมาณการขายของสถานประกอบการ โดยพนักงานเก็บภาษีของกรมสรรพากร เนื่องจากการ ไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการถึงปริมาณการขาย ย่อมไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง
          6. วิธีการบันทึกข้อมูลจากการวัดหรือนับ วิธีนี้จะมีอุปกรณ์เพื่อใช้ในการวัดหรือนับตาม ความจำเป็นและความเหมาะสม เช่น การนับจำนวนรถยนต์ที่แล่นผ่านที่จุดใดจุดหนึ่ง ก็อาจใช้เครื่องนับ โดยให้รถแล่นผ่านเครื่องนับ หรือการเก็บข้อมูลจำนวนผู้มาใช้บริการในห้องสมุดประชาชน ก็ใช้เครื่อง นับเมื่อมีคนเดินผ่านเครื่อง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น