วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

4.1 การวางแผน

เรื่องที่ 1 การวางแผน
แผนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรพยายามที่จะทำสิ่งที่ทำอยู่ให้ได้ผลออกมาดีที่สุดและ ประสบความสำเร็จ ฉะนั้น การวางแผนเป็นการตัดสินใจล่วงหน้าก่อนเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง
การวางแผน (Planning) หมายถึง กระบวนการในการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อการตัดสินใจ เพื่อเลือกแนวทางในการทำงานให้ดีที่สุด สำหรับอนาคตและให้องค์กรได้บรรลุตามวัตถุประสงค์
ความสำคัญของการวางแผน
1.  เพื่อลดความไม่แน่นอนและความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด
2.      สร้างการยอมรับในแนวคิดใหม่ ๆ
3.      เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
4.      ลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน
5.      ทำให้เกิดความชัดเจนในการทำงาน
                                      วัตถุประสงค์ไนการวางแผน
1.  ทำให้รู้ทิศทางในการทำงาน
2.       ทำให้ลดความไม่แน่นอนลง
3.       ลดความเสียหายหรือการซ้ำซ้อนของงานที่ทำ
4.       ทำให้รู้มาตรฐานในการควบคุมให้เป็นไปตามที่กำหนด
    ข้อดีของการวางแผน
1.      ทำให้เกิดการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
2.      ทำให้เกิดการประสานงานดียิ่งขึ้น
3.      ทำให้การปรับปรุงและการควบคุมดีขึ้น
4.      ทำให้เกิดการปรับปรุงการบริหารเวลาให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการวางแผน
    หลักพื้นฐานการวางแผน
1.      ต้องสนับสนุนเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร
2.      เป็นงานอันดับแรกของกระบวนการจัดการ
3.      เป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกคน
ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของแผนงาน



ลักษณะของแผนที่ดี
1.   มีลักษณะชี้เฉพาะมากกว่ามีลักษณะกว้าง ๆ หรือกล่าวทั่ว ๆ ไป
2.   มีการจำแนกความแตกต่างระหว่างสิ่งที่รู้และไม'รู้ให้ชัดเจน
3.   มีการเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผล และสามารถนำไปปฏิบัติได้
4.   มีลักษณะยืดหยุ่นสามารถปรับปรุงและพัฒนาได้
                                    5. ต้องได้รับการยอมรับจากกระบวนการที่เกี่ยวข้อง


ตัวอย่างแผนการมีส่วนร่วมของประชาชน (คนเก็บขยะ)

        การทำงานของเทศบาลนครพิษณุโลก จะเน้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชน นอกจากจะให้ ประชาชนร่วมคิด เช่น การให้ประชาชนมีส่วนในการทำแผนพัฒนาเทศบาลแล้ว ยังได้ขยายลงไปถึงการทำ แผนพัฒนาชุมชนประจำปี ซึ่งเป็นการจัดทำประชาคม ให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำ แผนพัฒนาชุมชนของตัวเองและได้เรียงลำดับความสำคัญหรือความต้องการของชุมชนนั้น ๆ
        ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน ทางเทศบาลได้มีการจัดทำแผนเฉพาะ การจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลโดยให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้ามามีส่วนร่วมในการทำแผน และได้เริ่มขยายการจัดทำแผนการจัดการขยะมูลฝอยลงในชุมชนบางแห่ง มีการอบรมให้ความรู้ด้านการ จัดการขยะมูลฝอยแก'ประชาชนในชุมชนและกลุ่มต่าง ๆ เช่น ชมรมสตรีอาสาพัฒนา กลุ่มผู้ประกอบการ อาหาร สถานศึกษาในพื้นที่ กลุ่มเยาวชน กลุ่มออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ฯลฯ พร้อมทั้งขอความร่วมมือใน การจัดการขยะมูลฝอย เช่น ช่วยในการคัดแยกของขายได้ (หรือขยะรีไซเคิล) ระดับครัวเรือน ช่วยคัดแยก ขยะอินทรีย์หรือขยะชีวภาพ ทำปิยหมักที่บ้านหรือร่วมมือคันทำระดับชุมชน ช่วยจัดหาถังขยะของแต่ละ ครัวเรือนเอง นำถังขยะออกมาให้สัมพันธ์คับเวลาจัดเก็บ ทำให้ชุมชนปลอดถังขยะหรือถนนปลอดถังขยะ เทศบาลสามารถลดความถี่ในการจัดเก็บขยะมูลฝอยลงได้ บางชุมชนนัดหมายเทศบาลมาเก็บขยะสัปดาห์ ละครั้ง หรืออย่างน้อยก็สามารถลดลงได้เป็นวันเว้นวัน ทั้งยังให้ความร่วมมืออย่างดีในการชำระ ค่าธรรมเนียมขยะมูลฝอย
        ภาครัฐควรใส่ใจและทำการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจคับประชาชน รวมทั้งขอความร่วมมือจากประชาชน ล้าประชาชนเข้าใจและเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อตนเองและ ส่วนรวมแล้ว จะส่งผลให้เกิดความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้การงานต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ และล่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น