วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

4.2 การมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม

เรื่องที่ 2 การมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม
          การมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนาทั้งในการแก้ไขปัญหาและป้องกันปัญหา โดยเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการเกิดริเริ่ม ร่วมกำหนด นโยบาย ร่วมวางแผน ตัดสินใจและปฏิบัติตามแผน ร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับร่วมติดตาม ประเมินผลรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ คันมีผลกระทบคับประชาชน ชุมชนและเครือข่ายทุกรูปแบบในพื้นที่
          การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) หมายถึง กระบวนการที่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีโอกาสได้เข้าร่วมในการแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทางร่วมแก้ไขปัญหาและร่วมในกระบวนการดัดสินใจ การที่สังคมจะพัฒนาได้อย่างมีคุณภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่มด้นที่จะทำการพัฒนา หน่วยที่ย่อยที่สุดของสังคมก่อน ซึ่งได้แก่ การพัฒนาคน การพัฒนาในลำดับต่อมาเริ่มกันที่ครอบครัว และต่อยอดไปจนถึงชุมชน สังคม และประเทศ
1. การพัฒนาตนเอง และครอบครัว
          การพัฒนาตนเอง หมายถึง การพัฒนาตนเองด้วยตนเอง หรือการสอนใจตนเองในการสร้าง อุปนิสัยที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและทำให้สังคมเกิดความสงบสุข
          การพัฒนาครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ การพัฒนาสังคมในหน่วยย่อย นำไปสู่การพัฒนาสังคมที่เป็นหน่วยใหญ่ มักจะมีจุดเริ่มด้นที่เหมือนกัน คือ การพัฒนาที่ตัวบุคคล ถ้าประชาชนได้รับการพัฒนาให้เป็นบุคคลที่มีจิตใจดีงาม มีความเอื้อเพื่อ มีคุณธรรม รู้จัก การพึ่งพาตนเอง มีความร่วมมือร่วมใจ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในถูมิปัญญาของตนเอง และพร้อมที่จะรับความรู้ใหม่ๆ ซึ่งการพัฒนาคนที่ดีที่สุด คือ การรวมกลุ่มประชาชนให้เป็นองค์กรเพื่อพัฒนาคนในกลุ่ม เพราะกลุ่มคนนั้นจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการคิดและแก้ปัญหา หรือกลุ่มที่พัฒนาด้านบุคลิกภาพของคนในการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้คนได้เกิดการพัฒนาในด้านความคิด ทัศนคติ ความมีเหตุผล ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย
2. การพัฒนาชุมชน และสังคม
          การพัฒนาชุมชนและสังคม หมายถึง การทำกิจกรรมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของทุกคนในชุมชนร่วมกัน ดังนั้น การพัฒนาชุมชนและสังคม จึงต้องใช้การมีส่วนร่วมของประชาชน ร่วมกันคิด เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ตัดสินใจร่วมกันในกิจกรรมที่เป็นปัญหาส่วนรวม เหตุที่ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจากประชาชนรู้ว่า ความต้องการของเขาคืออะไร ปัญหาคืออะไร และจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร ถ้าประชาชนช่วยกันแก้ปัญหา กิจกรรมทุกอย่างจะนำไปสู่ความต้องการที่แท้จริง
หลักการพัฒนากับการมีส่วนร่วมของประชาชน
          1. การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าประชาชนไม่สามารถเข้าใจปัญหาและหาสาเหตุของปัญหาด้วยตนเองไม่ได้ กิจกรรมต่างๆ ที่ตามมาก็จะไม่เกิดประโยชน์ เนื่องจากประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่สามารถมองเห็นความสำคัญของกิจกรรมนั้น
          2. การมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน ในการวางแผนการดำเนินงานหรือกิจกรรม เจ้าหน้าที่ของรัฐควรที่จะต้องเข้าใจประชาชน และเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผน โดยคอยให้คำแนะนำ ปรึกษา หรือชี้แนะกระบวนการดำเนินงาน ให้กับประชาชนจนกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการ
          3. การมีส่วนร่วมในการลงทุนและปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่รัฐควรจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและจิตสำนึกให้ประชาชน โดยให้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของให้เกิดสำนึกในการดูแลรักษาหวงแหนสิ่งนั้น
          4. การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลงาน ควรให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลงาน เพื่อที่จะสามารถบอกได้ว่างานที่ทำไปนั้นได้รับผลดีเพียงใด ก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่ ดังนั้น ในการประเมินผลควรที่จะต้องมีทั้งประชาชนในชุมชนนั้น และบุคคลภายนอกชุมชนช่วยกันพิจารณาว่า กิจกรรมที่กระทำลงไป นั้นเกิดผลดีหรือไม่ดีอย่างไร ซึ่งจะทำให้ประชาชนเห็นคุณค่าของการทำกิจกรรมนั้นร่วมกัน


ตัวอย่าง
เรื่องการบริหารจัดการของเสียโดยเตาเผาขยะและการบำบัดของเสียของเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
          สืบเนื่องจากปริมาณขยะที่มีมากถึง 500 ตัน/วัน ซึ่งเกินความสามารถในการกำจัดโดยเตาเผาที่ มีอยู่สามารถกำจัดขยะได้ 250 ตัน/วัน หลุมกลบขยะของเทศบาลมีเพียง 5 บ่อ ซึ่งถูกใช้งานจนหมด และไม่สามารถรองรับขยะได้อีก ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมโดยให้ความร่วมมือในการกัดแยกขยะก่อนทิ้ง ซึ่งแยกตาม ลักษณะของขยะ เช่น
          1. ขยะอินทรีย์ หรือขยะเปียกที่สามารถย่อยได้ตามธรรมชาติ เทศบาลนครภูเก็ต ได้นำไปทำ ปุ๋ยสำหรับเกษตรกร
          2. ขยะรีไซเคิล เช่น แก้ว พลาสติก กระดาษ ทองแดง เป็นด้น นำไปจำหน่าย
          3. ขยะอันตราย เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ เป็นด้น นำไปฝังกลบและทำลาย
          4. ขยะทั่วไปที่จะนำเข้าเตาเผาขยะเพื่อทำลาย

          ในการจัดกระบวนการดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดี ให้กับจังหวัดภูเก็ต อีกทั้งเป็นการบูรณาการในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันระหว่างส่วนราชการเทศบาลนครภูเก็ต และภาคประชาชนเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ในการร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีต่อกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น