วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

5.1 เทคนิคการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน

เรื่องที่ 1 เทคนิคการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน
          1.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผน การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน ตัดสินใจ ในการวางโครงการ สำหรับประชาชนเอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ
                1.1.1 ให้ประชาชนยอมรับในแผนการดำเนินงาน และพร้อมจะร่วมมือ เป็นการลด การต่อต้าน และลดความรู้สึกแตกแยกจากโครงการ
                1.1.2 ให้ประชาชนไต้ร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับสถานการณ์ ปัญหาความต้องการ ทิศทางของ การแก้ปัญหา และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
                1.1.3 ให้ประชาชนมีประสบการณ์ตรงในการร่วมแก้ปัญหาของประชาชนเอง ทำให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ในกระบวนการแก้ปัญหา
          1.2 การจัดทำเวทีประชาคม เป็นวิธีการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม ระหว่างคนที่มีประเด็นหรือ ปัญหาร่วมกันโดยใช้เวทีในการสื่อสาร เพื่อการรับรู้และเข้าใจในประเด็น/ปัญหาและช่วยกันหาแนวทางแก้ไข ประเด็นปัญหานั้น ๆ ซึ่งมีขั้นตอนในกระบวนการจัดทำเวทีประชาคม
                1.2.1 เตรียมการ ควรแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
                   1) ผู้อำนวยการเรียนรู้หลักหรือวิทยากรกระบวนการหลัก ที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนการมี ส่วนร่วมเวทีประชาสังคมทั้งกระบวน และเป็นวิทยากรหลักที่ทำให้เกิดการแสดงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมอภิปรายในเวทีประชาคม
                   2) ผู้สนับสนุนวิทยากรกระบวนการ ซึ่งอาจจะแสดงบทบาทเป็นวิทยากรรอง หรือผู้จดบันทึกการประชุม ผู้สนับสนุน'ฯ มีหน้าที่เติมคำถามในเวทีเพื่อให้ประเด็นบางประเด็นสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สังเกตลักษณะท่าทีและบรรยากาศของการอภิปราย สรุปประเด็นที่อภิปรายไปแล้ว และให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวลับกลุ่มและบรรยากาศแก่วิทยากรหลัก
                1.2.2 ดำเนินการเวทีประชาคม ในกระบวนการนั้นผู้อำนวยการเรียนรู้หรือวิทยากรกระบวนการหลักมีบทบาทมากที่สุด ขั้นตอนในกระบวนการนี้ประกอบด้วย
                   1) การทำความรู้จักกันระหว่างผู้เข้าร่วมอภิปราย จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้ คือ การละลายพฤติกรรมในกลุ่มและระหว่างกลุ่มกับทีมงาน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างการอภิปราย
                   2) บอกวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีประชาคม เป็นการบอกกล่าว เพื่อให้ผู้เข้าอภิปรายได้เตรียมตัวในฐานะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็น/ปัญหา การกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ร่วมอภิปรายควรใช้ภาษาที่สอดคล้องกับภูมิหลังของผู้เข้าร่วมอภิปราย และต้องให้ผู้ร่วมอภิปรายในเวทีประชาคมรู้สึกไว้ใจตั้งแต่เริ่มด้น
                   3) การเกริ่นนำเข้าสู่ที่มาที่ไปของประเด็นการอภิปรายในเวทีประชาคม เพื่อให้ผู้เข้าร่วม อภิปรายได้เข้าใจที่ไปที่มาและความสำคัญของประเด็นต่อการดำเนินชีวิต หรือวิถีชีวิต และบอกถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันหรือแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นนี้ร่วมกันเพื่อหาจุดยืนหรือแนวทางแก้ปัญหาของประเด็นดังกล่าว
                   4) การวางกฎและระเบียบของการจัดเวทีประชาคมร่วมกัน ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนก่อนการเริ่มอภิปรายในประเด็นที่ตั้งไว้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมกันกำหนดขอบเขตและการวางระเบียบของการจัดทำเวทีประชาคมร่วมกันระหว่างผู้ดำเนินการอภิปรายและผู้ร่วมอภิปราย กฎพื้นฐานของการจัดเวทีประชาคม คือ
                         (1) ทุกคนต้องแสดงความคิดเห็น และกำหนดเวลาที่แน่นอนในการพูดแต่ละครั้ง
                         (2) ไม่แทรกพูดระหว่างคนอื่นกำลังอภิปราย
                         (3) ทุกคนในเวทีประชาคมมีความเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น
                         (4) ทุกคนสามารถเสนอประเด็นใหม่ๆ ได้ แต่ต้องตรงกับประเด็นหลัก
                         (5) ทุกคนสามารถเสนอประเด็นใหม่ๆ ได้ แต่ต้องตรงกับประเด็นหลัก
                         (6) วิทยากรหลักเป็นเพียงคนกลางที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการพูดคุย และสรุปประเด็นที่เกิดจากการอภิปราย ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ปัญหา
                   5) การอภิปรายประเด็นหรือปัญหา ในขั้นตอนนี้วิทยากรกระบวนการ/ผู้อำนวยการเรียนรู้ต้องดำเนินการอภิปรายให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามกระบวนการและตามแผนที่วางไว้ นอกจากนั้นทีมงานเองก็ต้องช่วยสนับสนุนให้เวทีประชาคมดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและตามแผนที่ไต้ตกลงกัน
                   6) การสรุป เป็นขั้นตอนสุดบ้ายของการจัดเวทีประชาคม ซึ่งวิทยากรหลัก/ผู้อำนวยการเรียนรู้ต้องสรุปผลของการอภิปราย โดยแยกเป็นผลที่ได้จากการพูดคุยกันเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป ลับผลที่ได้จากเวทีประชาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจระบุอย่างชัดเจนว่าใครจะต้องไปทำอะไรต่อ และจะนัดหมายกลับมาพบกันเพื่อติดตามความคืบหน้าเมื่อไร/อย่างไร
                1.2.3 ติดตาม – ประเมินผล
          เป็นกระบวนการต่อเนื่องหลังจากการจัดเวทีประชาคมเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งสามารถแบ่ง กระบวนการนี้เป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ คือ การติดตาม และการประเมินผล
                   1) ขั้นตอนการติดตาม เป็นการตามไปดูว่ามีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ ตามที่ได้ตกลงกันไว้ ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามผล
                   2) ขั้นตอนของการประเมินผล คือ
                         (1) เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงภายหลังการจัดเวทีประชาคม ว่าประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขั้นหรือไม่ เมื่อมีการจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว
                         (2) เพื่อประเมินทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการจัดเวทีประชาคมทั้งหมดว่าได้รับความร่วมมือมากน้อยเพียงใดลักษณะและกระบวนการที่ทำเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันหรือไม่ ผลที่ได้รับคุ้มค่าหรือไม่ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ อย่างไร
          การสรุปข้อมูลที่ได้จากการติดตามและการประเมินผล จะช่วยให้ทั้งผู้จัดเวทีประชาคมและเข้าร่วมได้มีบทเรียนร่วมกัน และสามารถนำประสบการณ์ที่ไต้ไปใช้พัฒนาในการจัดกิจกรรมประชาคมอื่นๆ ต่อไป
          1.3 การประชุมกลุ่มย่อย หรือการสนทนากลุ่ม
          การสนทนากลุ่ม หมายถึง การรวบรวมข้อมูลจากการสนทนาลับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็น ปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือแนวทางการสนทนาอย่างกว้างขวางละเอียดถึกซึ้ง โดยมีผู้เข้าร่วมสนทนาในแต่ละกลุ่ม ประมาณ 6 – 10 คน ซึ่งเลือกมาจากประชากรเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2549)
                1.3.1 ขั้นตอนการจัดสนทนากลุ่ม
                   1) กำหนดวัตถุประสงค์ (6 – 8 สัปดาห์ล่อนการสนทนากลุ่ม)
                   2) กำหนดกลุ่มผู้ร่วมงานและบุคคลกลุ่มเป้าหมาย (6 – 8 สัปดาห์ก่อนการสนทนากลุ่ม)
                   3) รวบรวมที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ร่วมงาน (6 – 8 สัปดาห์ก่อนการสนทนากลุ่ม)
                   4) ตัดสินใจว่าจะทำการสนทนาเป็นจำนวนกี่กลุ่ม (4 – 5 สัปดาห์ก่อนการสนทนากลุ่ม)
                   5) วางแผนเรื่องระยะเวลาและตารางเวลาการสนทนา (4 – 5 สัปดาห์ก่อนการสนทนากลุ่ม)
                   6) ออกแบบแนวคำถามที่จะใช้ (4 – 5 สัปดาห์ก่อนการสนทนากลุ่ม)
                   7) ทดสอบแนวคำถามที่สร้างขั้น (4 – 5 สัปดาห์ก่อนการสนทนากลุ่ม) ทำความเข้าใจกับผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) และผู้จดบันทึก (Note taker) (4 – 5 สัปดาห์ก่อนการสนทนากลุ่ม)
                   8) คัดเลือกผู้เข้าร่วมกลุ่มสนทนา และจัดทำบัตรเชิญส่งให้ผู้ร่วมสนทนา (3 – 4 สัปดาห์ก่อนการสนทนากลุ่ม)
                   9) โทรศัพท์เพื่อติดตามผลและส่งบัตรเชิญให้ผู้ร่วมงาน (3 – 4 สัปดาห์ก่อนการสนทนากลุ่ม)
                   10) การจัดการเพื่อเตรียมการทำสนทนากลุ่ม เช่น จัดตำแหน่งที่นั่ง จัดเตรียมเครื่องมือ/อุปกรณ์ เป็นต้น
                   11) แจ้งสถานที่ให้ผู้เข้าร่วมสนทนาทราบล่วงหน้า 2 วัน
                   12) จัดกลุ่มสนทนา และหลังจากการประชุมควรมีการส่งจดหมายขอบคุณผู้ร่วมงานด้วย
                   13) สรุปผลการประชุม วิเคราะห์ข้อมูลและส่งให้ผู้ร่วมประชุมทุกคน
                   14) การเขียนรายงาน
                1.3.2 การดำเนินการสนทนากลุ่ม
                   1) แนะนำตนเองและทีมงาน
                   2) อธิบายถึงจุดมุ่งหมายในการมาทำสนทนากลุ่ม/ วัตถุประสงค์ของการศึกษา
                   3) เริ่มเกริ่นนำด้วยคำถามอุ่นเครื่องสร้างบรรยากาศเป็นกันเอง
                   4) เมื่อเริ่มคุ้นเคย เริ่มคำถามในแนวการสนทนาที่จัดเตรียมไว้ทิ้งช่วงให้มีการถกประเด็น และโต้แย้งกันให้พอสมควร
                   5) สร้างบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกัน ควบคุมเกมไม่ให้หยุดนิ่ง อย่าซักถามคนใดคนหนึ่งจนเกินไป คำถามที่ถามไม่ควรถามคนเดียว อย่าซักถามรายตัว
                   6) ในการนั่งสนทนา พยายามอย่าให้เกิดการข่มทางความคิด หรือชักนำผู้อื่นให้เห็นคล้อยตามกับผู้ที่พูดเก่ง
                   7) พิธีกรควรเป็นผู้คุยเก่งซักถามเก่ง มีพรสวรรค์ในการพูดคุย จังหวะการถามดี
                1.3.3 ข้อดีของการจัดสนทนากลุ่ม
                   1) ผู้เก็บข้อมูล เป็นผู้ได้รับการอบรมเป็นอย่างดี
                   2) เป็นการนั่งสนทนาระหว่างผู้ดำเนินการกับผู้รู้ ผู้ให้ข้อมูลหลายคนที่เป็นกลุ่ม จึงก่อให้เกิดการเสวนาในเรื่องที่สนใจ ไม่มีการปิดบัง คำตอบที่ได้จากการถกประเด็นซึ่งกันและกัน ถือว่าเป็นการกลั่นกรอง
                   3) การใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ได้ข้อมูลละเอียดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้สำเร็จหรือได้ดียิ่งขึ้น
                   4) คำตอบจากการสนทนากลุ่มมีลักษณะเป็นคำตอบเชิงเหตุผลคล้ายๆกับการรวบรวมข้อมูลแบบคุณภาพ
                   5) ประหยัดเวลาและงบประมาณของผู้ดำเนินการในการศึกษา
                   6) ทำให้ได้รายละเอียด สามารถตอบคำถามประเภททำไมและอย่างไรได้อย่างแตกฉาน ลึกซึ้ง
                   7) เป็นการเผชิญหน้ากันในลักษณะกลุ่มมากกว่าการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว ทำให้มีปฏิกิริยาโต้ตอบกันได้
                   8) การสนทนากลุ่ม จะช่วยบ่งชี้อิทธิพลของวัฒนธรรมและคุณค่าต่างๆ ของสังคม นั้นได้
                   9) สภาพของการสนทนากลุ่ม ช่วยให้เกิดและได้ข้อมูลที่เป็นจริง
          1.4 การสัมมนา
          “สัมมนาคือ การประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ ความสนใจ ประสบการณ์ในเรื่องเดียวกัน ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อร่วมกันวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ตามหลักการของประชาธิปไตย
ประโยชน์ของการสัมมนา
          1. ผู้จัดสามารถดำเนินการจัดสัมมนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          2. ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ แนวคิดจากการเข้าร่วมสัมมนา
          3. ช่วยทำให้ระบบและวิธีการทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
          4. ช่วยแบ่งเบาภาระการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชา
          5. เป็นการพัฒนาและส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงาน
          6. เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์
          7. สามารถสร้างความเข้าใจอันดีต่อเพื่อนร่วมงาน
          8. สามารถร่วมกันแก้ปัญหาในการทำงานได้ และการเป็นผู้นำ
องค์ประกอบของการสัมมนา
          1. ผู้ดำเนินการสัมมนา
          2. วิทยากร
          3. ผู้เข้าร่วมสัมมนา
ลักษณะทั่วไปของการสัมมนา
          1. เป็นประเภทหนึ่งของการประชุม
          2. มีการยืดหยุ่นตามความเหมาะสม
          3. เป็นองค์ความรู้และปัญหาทางวิชาการ
          4. เป็นกระบวนการรวมผู้ที่สนใจในความรู้ทางวิชาการที่มีระดับใกล้เคียงกัน หรือแตกต่างกันมาสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่จากการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น นำมาทดสอบประเมินค่าความรู้จากคนคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง ซึ่งจะมีคุณค่ามากมายเป็นลักษณะการแพร่กระจายสู่หลากหลายวงการอาชีพ ซึ่งจะทำให้ความรู้เหล่านั้นได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น
          5. อาศัยหลักกระบวนการกลุ่ม (Group dynamic หรอ group process)
          6. เป็นกิจกรรมที่เร่งเร้าให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา มีความกระตือรือร้น
          7. มีโอกาสนำเสนอ พูดคุย โต้ตอบซักถาม และแสดงความคิดเห็นต่อกัน
          8. ได้พัฒนาทักษะ การพูด การฟ้ง การคิด และการนำเสนอความคิด ความเชื่อ และความรู้อื่น ๆ ตลอดจนการเขียนรายงานหรือเอกสารประกอบการสัมมนา
          9. พัฒนาการเป็นผู้นำและผู้ตามในกระบวนการเรียนรู้ คือ อาจมีผู้ทรงคุณวุฒิ คณาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหลายมาเป็นวิทยากรหรือผู้ดำเนินรายการ คอยช่วยประดับประคองกระบวนการสัมมนาให้บรรลุวัตถุประสงค์ขณะเดียวกันผู้ร่วมสัมมนาจะเป็นผู้ตามในการเรียนรู้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในระหว่างการสัมมนา
          1.5 เล็งถึงกระบวนการเรียนรู้ (process) มากกว่าผลที่ได้รับ (product) จากการสัมมนา โดยตรงนั้นคือ ผลของการสัมมนาจะได้ในรูปของผู้ร่วมสัมมนาได้มีการพัฒนากระบวนการฟัง การคิด การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การทดสอบองค์ความรู้ การประเมินค่าความคิดเห็นจากผู้ร่วมสัมมนา
          ประชามติ (Referendum) หมายถึง มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือในที่ใดที่หนึ่ง มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายที่สำคัญที่ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินปัญหาสำคัญๆ ในการบริหารประเทศ
ประเภทการสำรวจประชามติ
          การสำรวจประชามติทางด้านการเมือง ส่วนมากจะรู้จักคันในนามของ Public Opinion Polls หรือ การทำโพล ซึ่งเป็นที่รู้จักคันอย่างแพร่หลาย คือ การทำโพลการเลือกตั้ง (Election Polls) แบ่งได้ ดังนี้
          1. Benchmark Survey เป็นการทำการสำรวจเพื่อต้องการทราบความเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการรับรู้เรื่องราว ผลงานของผู้สมัคร ชื่อผู้สมัครและคะแนนเสียงเปรียบเทียบ
          2. Trial Heat Survey เป็นการหยั่งเสียงว่าประชาชนจะเลือกใคร
          3. Tracking Polls การถามเพื่อดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ส่วนมากจะทำตอนใกล้เลือกตั้ง
          4. Cross-sectional vs. Panel เป็นการทำโพล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หลายๆ ครั้ง เพื่อทำให้เห็นว่าภาพผู้สมัครในแต่ละห้วงเวลามีคะแนนความนิยมเป็นอย่างไร แต่ไม่ทราบรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวคนๆ เดียว จึงต้องทำ Panel Survey
          5. Focus Groups ไม่ใช่ Polls แต่เป็นการได้ข้อมูลที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือได้ เพราะจะเจาะถามเฉพาะกลุ่มที่รู้และให้ความสำคัญคับเรื่องนั้นๆ จริงจัง
          6. Deliberative Opinion รวมเอาการสำรวจทั่วไป กับการทำการประชุมกลุ่มย่อยเข้าด้วยกัน โดยการนำเอาตัวแทนประชาชนมารวมกัน แล้วให้ข้อมูลข่าวสารหรือโอกาสในการอภิปราย ประเด็นปัญหา แล้วสำรวจความเห็นในประเด็นปัญหาเพื่อวัดประเด็นที่ประชาชนคิด
          7. Exit Polls การสัมภาษณ์ผู้ใช้สิทธิออกเสียงเมื่อเขาออกจากคูหาเลือกตั้ง เพื่อดูว่าเขาลงคะแนนให้ใคร ปัจจุบันในสังคมไทยนิยมมาก เพราะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า Polls ประเภทอื่น ๆ
          การสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นทางด้านการตลาด (MarketingResearch) ส่วนมากจะเน้นการศึกษาความเห็นของผู้ใช้สินค้าและบริการต่อคุณสมบัติอันพึงประสงค์ของสินค้าและบริการ รวมทั้งความคาดหวังในการได้รับการส่งเสริมการขายที่สอดรับคับความต้องการของผู้ใช้สินค้าและบริการ เป็นการสำรวจความคิดเห็นของสาธารณชนในมิติที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเบี่ยงเบนจากการจัดระเบียบสังคมที่มีอยู่ในสังคมใดสังคมหนึ่ง เพื่อนำข้อมูลมากำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการที่ใช้มากในทางรัฐศาสตร์และสังคมวิทยา เรียกว่า การวิจัยนโยบายสาธารณะ (Policy Research)
กระบวนการสำรวจประชามติ
          1. การกำหนดปัญหาหรือข้อมูลที่ต้องการสำรวจ คือ การเลือกสิ่งที่ต้องการจะทราบจาก ประชาชนเกี่ยวกับนโยบาย บุคคล คณะบุคคล เหตุการณ์ ผลงาน และสถานที่ต่างๆ
          2. กลุ่มตัวอย่าง ตัวแทน คือ การกำหนดกลุ่มตัวอย่างของการสำรวจประชามติที่ดีต้องให้ครอบคลุมทุกเพศ วัย อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ เพื่อให้ได้เป็นตัวแทนที่แท้จริง
          3. การสร้างแบบสอบถาม แบบสอบถาม คือ เครื่องมือวิจัย (Research Tool) ชนิดหนึ่ง ใช้วัดค่าตัวแปรในการวิจัย แบบสอบถามมีสภาพเหมือนมาตรหรือมิเตอร์ที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ หรือใช้ในชีวิตประจำวัน
          4. ประชุมเจ้าหน้าที่เก็บข้อมูล เป็นการประชุม เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในประเด็นคำถามที่ถามให้ตรงกัน ความคาดหวังในคำตอบ ประเภทการให้คำแนะนำวิธีการสัมภาษณ์ การจดบันทึก ข้อมูล การหาข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีที่ยังไม'ไต้คำตอบ
          5. การเก็บข้อมูลภาคสนาม เจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลจะได้รับการฝึกในเรื่องวิธีการสัมภาษณ์ การบันทึกข้อมูล และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การเก็บข้อมูล การสำรวจประชามติ สามารถ ดำเนินการได้ 3 ทาง คือ การสัมภาษณ์แบบเห็นหน้า (Face to Face) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์
          6. การวิเคราะห์ข้อมูล ในกรณีการสำรวจประชามติ การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนมากไม่สลับซับซ้อน เป็นข้อมูลแบบร้อยละเพื่อตีความและหยิบประเด็นที่สำคัญจัดลำดับความสำคัญ
          7. การนำเสนอผลการสำรวจประชามติ มีโวหารที่ใช้นำเสนอผลการสำรวจประชามติ ดังนี้
                7.1 โวหารที่เน้นนัยสำคัญทางสถิติ นำเสนอผลโดยสร้างความเชื่อมั่นจากการอ้างถึง ผลที่มีนัยสำคัญทางสถิติรองรับ
                7.2 โวหารว่าด้วยเป็นวิทยาศาสตร์ การนำเสนอผลโดยการอ้างถึงกระบวนการได้มา ซึ่งข้อมูลที่เน้นการสังเกตการณ์ การประมวลข้อมูลด้วยวิธีการที่เป็นกลาง
                7.3 โวหารในเชิงปริมาณ นำเสนอผลโดยใช้ตัวเลขที่สำรวจได้มาสร้าง ความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมในประเด็นที่ศึกษา
                7.4 โวหารว่าด้วยความเป็นตัวแทน การนำเสนอข้อมูลในฐานะที่เป็นตัวแทนของ กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา
          1.6 การประชาพิจารณ์
          การทำประชาพิจารณ์ หมายถึง การจัดเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีส่วนได้เสียโดยตรง ได้มีโอกาสทราบข้อมูลในรายละเอียดเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีส่วนในการแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและความคิดเห็นต่อนโยบายหรือโครงการนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม
          ขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์
          ขั้นตอนที่ 1 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนำประเด็นหลัก และหลักการสำคัญในการแก้ไขปัญหา
          ขั้นตอนที่ 2 กรรมาธิการรับพิงความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ออกรับพิงความคิดเห็นจากประชาชนจังหวัดต่างๆ
          ขั้นตอนที่ 3 คณะกรรมาธิการรับพิงความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ส่งผลสรุปความคิดเห็นของประชาชนที่ได้จากการจัดทำสมัชชาระดับจังหวัดให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น