วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

5.3 การเผยแพร่สู่การปฏิบัติ

เรื่องที่ 3 การเผยแพร่สู่การปฏิบัติ
3.1 การเขียนรายงาน
          การเขียนรายงาน คือ การเขียนรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลในหน่วยงาน ซึ่งรายงานแต่ละประเภทนั้น ก็จะมีวิธีการเขียนที่แตกต่างกันออกไป รายงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงาน และการที่จะเสนอการเขียนรายงานนั้นให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วนั้น ควรที่จะมีการวางแผนกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของแต่ละรายงานไว้ด้วย
วิธีการเขียนรายงาน
   1. เขียนให้สั้นเอาแต่ข้อความที่จำเป็น
   2. ใจความสำคัญครบถ้วนว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร
   3. เขียนแยกเรื่องราวออกเป็นประเด็น ๆ
   4. เนื้อความที่เขียนต้องลำดับไม่สับสน
   5. ข้อมูล ตัวเลข หรือสถิติต่าง ๆ ควรไต้มาจากการพบเห็นจริง
   6. ถ้าต้องการจะแสดงความคิดเห็นประกอบ ควรแยกความคิดออกจากตัวข่าวหรือเรื่องราวที่เสนอไปนั้น
   7. การเขียนบันทึกรายงาน ถ้าเป็นของทางราชการควรเป็นรูปแบบที่ใช้แน่นอน
   8. เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว ต้องทบทวนและตั้งคำถามในใจว่า ควรจะเพิ่มเติมหรือตัดทอนส่วนใดทิ้งหรือตอนใดเขียนแล้วยังไม่ชัดเจน ก็ควรจะแก้ไขให้เรียบร้อย
วิธีการเขียนรายงานจากการค้นคว้า
   1. รายงานค้นคว้าเชิงรวบรวม เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาเรียบเรียง ปะติดปะต่อกันอย่างมีระบบระเบียบ
   2. รายงานค้นคว้าเชิงวิเคราะห์ เป็นการนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาวิเคราะห์ หรือค้นหาคำตอบในประเด็นให้ชัดเจน
วิธีการนำเสนอรายงาน
   1. รายงานด้วยปากเปล่า (Oral Reports) หรือเสนอด้วยวาจา โดยการเสนอแบบบรรยาย ต่อที่ประชุมต่อผู้บังคับบัญชา ฯลฯ
   2. รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Reports) มักทำเป็นรูปเล่ม เป็นรูปแบบการ นำเสนออย่างเป็นทางการ (Formal Presentation)
ลักษณะของรายงานที่ดี
          1. ปกสวยเรียบ
          2. กระดาษที่ใช้มีคุณภาพดี มีขนาดถูกต้อง
          3. มีหมายเลขแสดงหน้า
          4. มีสารบัญหรือมีหัวข้อเรื่อง
          5. มีบทสรุปย่อ
          6. การเว้นระยะในรายงานมีความเหมาะสม
          7. ไม่พิมพ์ข้อความให้แน่นจนดูลานตาไปหมด
          8. ไม่มีการแก้ขูดลบ
          9. พิมพ์อย่างสะอาดและดูเรียบร้อย
          10. มีผังหรือภาพประกอบตามความเหมาะสม
          11. ควรมีการสรุปให้เหลือเพียงสั้นๆ แล้วนำมาแนบประกอบรายงาน
          12. จัดรูปเล่มสวยงาม
3.2 การเขียนโครงงาน
          โครงงาน เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างแท้จริง เพราะผู้เรียนเป็นผู้ที่สร้างความรู้ด้วยตนเอง เริ่มจากการเลือกหัวข้อหรือปัญหาที่มาจากความสนใจ ความสงสัย หรือ ความอยากรู้อยากเห็นของตนเอง หัวข้อของโครงงานควรเป็นเรื่องใหม่ ที่เฉพาะเจาะจงและที่สำคัญต้อง เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของตน การเขียนโครงงานเป็นการกำหนดกรอบในการทำงาน การเขียน โครงงานโดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับการเขียนโครงการ แต่โครงงานเป็นงานที่ทำเสร็จแล้วจะมีชิ้นงานด้วยเมื่อมีโครงงานและดำเนินการจัดทำโครงงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชิ้นสุดท้าย คือ การเขียนรายงานโครงงาน
การเขียนรายงานโครงงาน โดยทั่วไปมีองค์ประกอบดังนี้
      1. ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน
      2. คำนำ - สารบัญ
      3. ที่มาของโครงงาน อธิบายเหตุผลในการทำโครงงานนี้
      4. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
      5. วิธีดำเนินการควรแยกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการ, ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการ วิธีดำเนินงานโครงงาน และขั้นตอนที่ 3 ผลงานโครงงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
      6. สรุปผลและข้อเสนอแนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น