วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

6.1 ผู้นำและผู้ตาม

เรื่องที่ 1 ผู้นำและผู้ตาม
          ในการจัดทำและขับเคลื่อนแผนพัฒนาชุมชน สังคม สิ่งสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาชุมชน และสังคม ก็คือผู้นำ เพราะผู้นำมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องวางแผน สั่งการ ดูแล และควบคุมให้การทำงานใดๆ สำเร็จ ซึ่งในการปฏิบัติงานต่างๆ จะมีการแบ่งบทบาท หน้าที่ ความ รับผิดชอบ เพื่อให้การทำงานเป็นไปด้วยความราบรื่น มีปัญหา อุปสรรคน้อย และงานสำเร็จตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งการจัดทำและขับเคลื่อนแผนพัฒนาชุมชน สังคม จะสำเร็จไต้ต้องอาศัยการ ทำงานที่มีผู้นำและผู้ตามที่ดี
          1.1 ผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่มีความสามารถในการชักจูงให้คนลื่นทำงานในส่วนต่างๆ ที่ต้องการ ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ผู้นำอาจเป็นบุคคลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้ง หรือการยกย่องขึ้นมาของกลุ่ม เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือให้กลุ่มประสบความสำเร็จ และมีการเรียกชื่อผู้นำแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานและองค์การที่อยู่ เช่น ผู้บริหาร ผู้จัดการ ประธาน กรรมการ ผู้อำนวยการ อธิการบดี ผู้ว่าราชการ นายอำเภอ กำนัน เป็นต้น องค์ประกอบของความเป็นผู้นำ
                1. ความรู้ เช่น วิชาการ รู้รอบ รู้ตน รู้คน รู้หน้าที่ เป็นต้น
                2. ความคิดและจิตใจ เช่น คิดเชิงบวก คิดเชิงวิเคราะห์ คิดเชิงระบบ หลักคิด สมาธิ วิสัยทัศน์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นต้น
                3. บุคลิกภาพ เช่น การวางตน ความมั่นใจ เอกลักษณ์อารมณ์ การพูด การเป็นผู้ให้ เป็นต้น
                4. ความสามารถ เช่น รูปแบบการทำงาน การตัดสินใจ เป็นต้น
ประเภทของผู้นำ ผู้นำตามลักษณะของการใช้อำนาจหน้าที่ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
          1. ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leadership) หมายถึง ผู้นำที่เน้นการบังคับบัญชาและการออก คำสั่ง มักจะทำการตัดสินใจด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ และไม่ค่อยมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้แก่ผู้ตามหรือ ผู้ใต้บังคับบัญชามากนัก ลักษณะของผู้นำชนิดนี้เป็นลักษณะเจ้านาย
          2. ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) เป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับผู้ตามหรือ ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่เน้นการใช้อำนาจหน้าที่ หรือก่อให้เกิดความเกรงกลัวในตัวผู้นำ แต่จะให้โอกาสผู้ตามได้แสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงานทุกคน จะมีโอกาสเข้าร่วมพิจารณาและร่วมตัดสินใจไต้ด้วย
          3. ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez - faire or Free - rein Leadership) ผู้นำชนิดนี้จะให้อิสระเต็มที่กับ ผู้ตาม หรือให้ผู้ตามสามารถทำการใดๆ ตามใจชอบ ผู้ตามจะตัดสินปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง และอาจ ได้รับสิทธิในการจัดทำเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ หรือจัดทำแผนงานต่าง ๆ ได้ ผู้นำตามลักษณะการจัดการแบบมุ่งงานกับมุ่งคน แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
                1. ผู้นำแบบมุ่งงาน (Job Centered) ผู้นำชนิดนี้ให้ความสำคัญต่องาน โดยถือว่าคนเป็นป้จจัยที่ จะนำมาใช้ช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จ ซึ่งจะต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด และไม่ควรมอบ อำนาจการตัดสินใจให้กับลูกน้อง
                2. ผู้นำแบบมุ่งคน (Employee Centered) ผู้นำชนิดนี้ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของคนมีความ เชื่อมั่นในตัวลูกน้องหรือผู้ตาม จะไม่ขัดขวาง และคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน ส่งเสริมให้ลูกน้องมี ส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆ ผู้นำตามลักษณะการยอมรับจากกลุ่มหรือลังคม แบ่งได้ 5 ประเภท คือ
                         1. ผู้นำตกทอด (Hereditary Leader) คือ ผู้ที่กลุ่มหรือสังคมให้การยอมรับในลักษณะที่เป็นการ สืบทอด เช่น การได้รับตำแหน่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษ หรือผู้ที่เป็นที่เคารพนับถือของกลุ่มหรือสังคม นั้นมาก่อน
                         2. ผู้นำอย่างเป็นทางการ (Legal Leader) คือ บุคคลที่กลุ่มหรือสังคมให้การยอมรับในลักษณะที่ เป็นทางการ เช่น การได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ เนื่องจากมีคุณสมบัติ เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำ
                         3. ผู้นำตามธรรมชาติ (Natural Leader) คือ ผู้นำที่กลุ่มหรือสังคมยอมรับสภาพการเป็นผู้นำของ บุคคลใดบุคคลหนึ่งให้เป็นผู้นำกลุ่มไปสู่เป้าหมายอย่างไม่เป็นทางการ และผู้นำก็ปฏิบัติไปตามธรรมชาติ ไม่ได้มีการตกลงกันแต่ประการใด
                         4. ผู้นำลักษณะพิเศษ หรือผู้นำโดยอำนาจบารมี (Charismatic Leader) คือ ผู้ที่ได้รับการยอมรับ จากกลุ่มหรือสังคมในลักษณะที่เป็นเพราะความศรัทธาทั้งนี้เนื่องจากมีความเคารพเชื่อถือเพราะบุคคลนั้น มีคุณสมบัติพิเศษที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม
                         5. ผู้นำสัญลักษณ์ (Symbolic Leader) คือ บุคคลที่ได้รับการยอมรับในลักษณะที่เป็นเพราะบุคคลนั้นอยู่ในตำแหน่งหรือฐานะอันเป็นที่เคารพยกย่องของคนทั้งหลาย
คุณลักษณะของผู้นำ
          1. ทางความรู้และสติปัญญา เช่น รู้รอบ มีทักษะการคิดที่ดี ชอบริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นด้น
          2. ทางร่างกาย เช่น มีสุขภาพดี มีบุคลิกที่ดูดี เป็นต้น
          3. ทางอารมณ์และวุฒิภาวะ เช่น สมาธิดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง ปรับตัวและมีความยืดหยุ่นสูง
เป็นต้น
          4. ทางอุปนิสัย เช่น น่าเชื่อถือไว้ใจได้ กล้าที่จะเผชิญปัญหาอุปสรรค รับผิดชอบดี มุ่งมั่น อดทน พากเพียร พยายาม ชอบสังคม เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้นำที่ดี
          1. วิสัยทัศน์ (Vision) ผู้นำที่ดีด้องมีวิสัยทัศน์ การมีวิสัยทัศน์เป็นการมองการณ์ไกล เพื่อกำหนด ทิศทางที่ควรจะเป็นในอนาคต การมองเห็นก่อนคนอื่นจะทำให้ประสบความสำเร็จก่อน และเป็นแรงขับที่นำไปสู่จุดหมายที่ด้องการ และผู้นำจะต้องสามารถสื่อสารวิสัยทัศน์ของตนไปยังผู้เกี่ยวข้องได้ และชักจูงหรือกระตุ้นให้ผู้ตามพึงปฏิบัติไปตามวิสัยทัศน์ของผู้นำนั้นๆ
          2. ความรู้(Knowledge) การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในที่นั้นมิได้หมายถึง เฉพาะความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะ เป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผู้นำก็จะยิ่งมั่นคง มากขึ้นเท่านั้น
          3. ความริเริ่ม (Initiative) ความริเริ่ม คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขต อำนาจหน้าที่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถในการแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้นหรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง ความริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ หัวหน้างานจะต้องมีความกระตือรือร้น คือ มีใจจดจ่องานดี มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ มีพลังใจที่ด้องการความสำเร็จอยู่เบื้องหน้า
          4. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด (Courage and Firmness) ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวอันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถ เผชิญต่องานต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะหนึ่งที่ จะต้องท่าให้เกิดในตัวของผู้นำ
          5. การมีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด ประสาน ประโยชน์สามารถท่างานร่วมลับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษาได้ ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี จะช่วยให้ ปัญหาใหญ่กลายเป็นปัญหาเล็กได้
          6. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต (Fairness and Honesty) ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของ ความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัย สั่งการ หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
          7. มีความอดทน (Patience) ความอดทนจะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่ จุดหมายปลายทางได้อย่างแท้จริง
          8. มีความตื่นตัว ( Alertness ) ความตื่นตัว หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุม รอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาดหรือขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์ ผู้นำที่ดีจะต้อง รู้จักวิธีควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self Control)
          9. มีความภักดี (Loyalty) การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีนี้จะช่วยให้ผู้นำไต้รับความไว้วางใจและปกป้องภัยอันตรายในทุกทิศได้เป็นอย่างดี
          10. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty) ผู้นำที่ดีจะต้องไม่หยิ่งยโสไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และ ไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผล ความสงบเสงี่ยมนั้น ถ้ามีอยู่ในผู้นำหรือหัวหน้างานคนใดแล้ว ก็จะทำให้ผู้ตามหรือลูกน้องมีความนับถือ และให้ความร่วมมือเสมอ
การเสริมสร้างภาวะผู้นำชุมชน
          การเสริมสร้างภาวะผู้นำชุมชน หมายถึง การทำให้ผู้นำชุมชนมีภาวะผู้นำเพิ่มขึ้น หรือการทำให้ ผู้นำชุมชนมีการปรับปรุงความสามารถในการทำหน้าที่หรือการเข้าไปมีบทบาทในแต่ละด้านให้กับชุมชนได้ดีขึ้น   การเสริมสร้างภาวะผู้นำ ได้แก่ การพัฒนาบุคลิกภาพ การพัฒนารูปลักษณ์ การพัฒนาทักษะใน การติดต่อสื่อสาร การพัฒนาความทรงจำ และการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                1. การพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำ ได้แก่ การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ เช่น การควบคุมตนเอง การรับ –  ส่งผู้อื่น การมีความซื่อสัตย์ต่องาน – เพื่อนร่วมงาน การรู้จักถ่อมตน การให้ความร่วมมือกับผู้อื่น การถนอม -  น้ำใจผู้อื่น เป็นต้น
                2. การเข้าใจความต้องการของชุมชนและการสร้างภาพลักษณ์เช่น ความมั่นใจในตัวเอง แรงจูงใจในการทำงาน การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น การแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
                3. การพัฒนารูปลักษณ์ของผู้นำ ได้แก่ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ถูกหลักโภชนาการ การรักษารูปร่างและสัดส่วน การรู้จักการแต่งกาย และการพัฒนามารยาท เช่น มารยาท -  ในการแนะนำตัว มารยาทในโต๊ะอาหาร มารยาทต่อคนรอบข้าง มารยาทในที่ทำงาน มารยาทในการ ประชุม เป็นต้น
                4. การพัฒนาทักษะในการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ การพูด การพิง การสื่อสารทางโทรศัพท์ การพูดในที่ชุมชน การวิเคราะห์กลุ่มผู้พิง การวิเคราะห์เนื้อหา การอ่าน การเขียน การให้คำแนะนำ คำปรึกษา
                5. การพัฒนาความทรงจำ ได้แก่ การจำรายละเอียดของงาน การจำรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคล การจำเกี่ยวกับตัวเลข
                6. การพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นการพัฒนาเพื่อหาวิธีการใหม่ๆ ทำให้กล้าคิด กล้าแสดงออก ทำให้มองโลกกว้าง และมีความยืดหยุ่น สร้างผลงานใหม่ๆ
ภาวะผู้นำของชุมชน
          1. ด้านการบริหารตนเอง ผู้นำควรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม มีวินัยในตนเอง และมีบุคลิกภาพดี
          2. ด้านการบริหารงาน ผู้นำควรมีการวางแผน การปรับปรุงแก้ไขงบประมาณ การเงิน บัญชี การบริหาร งบประมาณ การพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง การควบคุมและประเมินผล การสร้างและการพัฒนาทีมงาน และการมีความรับผิดชอบต่อชุมชน
          3. ด้านการบริหารสังคม ผู้นำควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ความเป็นประชาธิปไตย การประสานงานดี และการเป็นที่ปรึกษาที่ดี
หน้าที่ของผู้นำชุมชน
          ในการทำหน้าที่เป็นผู้นำชุมชนนั้น จะต้องเป็นผู้รักษาหรือประสานให้สมาชิกของชุมชนอยู่ร่วมกัน คือ ต้องอยู่ใกล้ชิดกับชุมชน มีความสัมพันธ์กับคนในชุมชน และเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน อีกทั้งผู้นำ จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติภารกิจของชุมชนให้บรรลุวัตถุประสงค์ คือ ต้องรับผิดชอบในกระบวนการ วิธีการทำงานด้วยความมั่นคงและเข้าใจ และต้องทำงานให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนั้น ผู้นำชุมชนจะต้อง มีบทบาทในการสนับสนุนให้เกิดการติดต่อสัมพันธ์ในกลุ่ม คือ จะต้องปฏิบัติงานในลักษณะอำนวย ความสะดวกให้สมาชิกในชุมชนเกิดการติดต่อสัมพันธ์และปฏิบัติต่อกันด้วยดี การติดต่อสื่อสารที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นการช่วยให้หน้าที่ผู้นำชุมชนบรรลุเป้าหมาย
แนวทางในการทำหน้าที่ผู้นำชุมชน
      1. สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน
      2. กระตุ้นให้สมาชิกทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
      3. พัฒนาสมาชิกให้เกิดภาวะผู้นำ
      4. ร่วมกับสมาชิกกำหนดเป้าหมายของชุมชน
      5. บริหารงาน และประสานงานในชุมชน
      6. ให้คำแนะนำ และชี้แนวทางให้กับชุมชน
      7. บำรุงขวัญสมาชิกในชุมชน
      8. เป็นตัวแทนชุมชนในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ
      9. รับผิดชอบต่อผลการกระทำของชุมชน
บทบาทผู้นำชุมชน
   ด้านเศรษฐกิจ
      1. ทำให้ครัวเรือนสามารถพึ่งตนเองไต้
      2. ส่งเสริมอาชีพที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน
      3. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนตามความเหมาะสม
   ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
      1. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม
      2. เสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี
      3. วางระบบโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอต่อความต้องการ
   ด้านสุขภาพอนามัย
      1. วางระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสุขภาพจากการมีส่วนร่วมของชุมชน
      2. จัดการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ
      3. การป้องกันโรค
      4. การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
   ด้านศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี
      1. การนับถือศาสนาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
      2. การมีวิถีชีวิตแบ่งปันเอื้ออาทร
      3. การอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน
   ด้านการพัฒนาคน
      1. การจัดการความรู้ / ภูมิปัญญา
      2. การพัฒนาผู้นำ / สมาชิกในชุมชน
   ด้านการบริหารจัดการชุมชน
      1. การจัดทำระบบข้อมูล
      2. การจัดทำแผนชุมชน
      3. การจัดสวัสดิการชุมชน
      4. การเสริมสร้างการเมือง การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
   ด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
      1. การป้องกันรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของชุมชน
      2. การป้องกันภัยธรรมชาติ
          1.2 ผู้ตาม
          ความหมายของผู้ตาม (Followers) และภาวะผู้ตาม (Followership)
          ผู้ตาม และภาวะผู้ตาม หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในองค์การที่มีหน้าที่ และความรับผิดชอบที่จะต้อง รับคำสั่งจากผู้นำหรือผู้บังคับบัญชามาปฏิบัติให้สำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ พฤติกรรมของผู้ตาม 5 แบบ ดังนี้
                1. ผู้ตามแบบห่างเหิน มีลักษณะเป็นคนเฉื่อยชา มีความเป็นอิสระ และมีความคิดสร้างสรรค์สูง ส่วนมากเป็นผู้ตามที่มีประสิทธิผล มีประสบการณ์ และผ่านอุปสรรคมาก่อน
                2. ผู้ตามแบบปรับตาม หรือเรียกว่า ผู้ตามแบบครับผม มีลักษณะเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น ในการทำงาน แต่ขาดความคิดสร้างสรรค์
                3. ผู้ตามแบบเอาตัวรอดมีลักษณะเลือกใช้พฤติกรรมแบบใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะเอื้อประโยชน์ ลับตัวเองได้มากที่สุดและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
                4. ผู้ตามแบบเฉื่อยชา มีลักษณะชอบพึ่งพาผู้อื่น ขาดความอิสระ ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                5. ผู้ตามแบบมีประสิทธิผล มีลักษณะเป็นผู้ที่มีความตั้งใจในการปฏิบัติงานสูง มีความสามารถ ในการบริหารจัดการงานได้ด้วยตนเอง ลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผล ดังนี้
                   1. มีความสามารถในการบริหารจัดการตนเองได้ดี
                   2. มีความผูกพันต่อองค์การและวัตถุประสงค์
                   3. ทำงานเต็มศักยภาพ และสุดความสามารถ
                   4. มีความกล้าหาญ ซื่อสัตย์ และน่าเชื่อถือ
การพัฒนาศักยภาพตนเองของผู้ตาม
      การพัฒนาลักษณะนิสัยตนเองให้เป็นผู้ตามที่มีประสิทธิผล มี 7 ประการ คือ
          1. ต้องมีนิสัยเชิงรุก (Be Proactive)
          2. เริ่มด้นจากส่วนลึกในจิตใจ (Begin with the end in Mind)
          3. ลงมือทำสิงแรกก่อน (Put first Things first)
          4. คิดแบบชนะทั้งสองฝ่าย (Think Win-Win)
          5. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (Seek first to Understand, Then to be Understood)
          6. การรวมพลัง (Synergy) หรือทำงานเป็นทีม (Team Work)
          7. ลับเลื่อยให้คม หรือพัฒนาตนเองอยู่เสมอ (Sharpen The Saw)
แนวทางส่งเสริมและพัฒนาผู้ตามให้มีคุณลักษณะผู้ตามที่พึงประสงค์ มีดังนี้
          1. การดูแลเอาใจใส่ เรื่องความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ให้ลับสมาชิกและเป็นธรรม
          2. การจูงใจด้วยการให้รางวัลคำชมเชย
          3. การให้ความรู้และพัฒนาความคิดโดยการจัดโครงการแกอบรม สัมมนา และศึกษาดูงาน
          4. ผู้นำต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง
          5. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
          6. ควรนำหลักการประเมินผลงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์
          7. ส่งเสริมการนำหลักธรรมมาใช้ในการทำงาน

          8. การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ตามนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง

1 ความคิดเห็น:

  1. As stated by Stanford Medical, It's indeed the SINGLE reason women in this country get to live 10 years more and weigh an average of 42 pounds lighter than we do.

    (By the way, it has totally NOTHING to do with genetics or some hard exercise and EVERYTHING to do with "how" they are eating.)

    P.S, What I said is "HOW", and not "what"...

    Click this link to see if this quick quiz can help you find out your real weight loss possibilities

    ตอบลบ