วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

6.2 ผู้นำ ผู้ตามในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน สังคม

เรื่องที่ 2 ผู้นำ ผู้ตามในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน สังคม
          แผนพัฒนาชุมชน สังคม มีชื่อเรียกแตกต่างลันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น แผนชุมชน แผนชุมชน แผนตนเอง แผนชีวิต แผนชีวิตชุมชน แผนชีวิตชุมชนพึ่งตนเอง แผนแม่บทชุมชน แผนแม่บทชุมชน - พึ่งตนเอง เป็นต้น
          แผนชุมชน คือ เครื่องมือพัฒนาชุมชนที่คนในชุมชนรวมตัวลันจัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางใน การพัฒนาชุมชนของตนเองให้เป็นไปตามสภาพปัญหาและความต้องการที่ชุมชนประสบอยู่ร่วมลัน โดยคน ในชุมชนร่วมลันคิด ตัดสินใจ กำหนดแนวทางและทำกิจกรรมการพัฒนาของชุมชนด้วยหลักการ พึ่งตนเองตามศักยภาพ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นหลัก
          กล่าวโดยสรุป แผนชุมชน หมายถึง แผนที่ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำทุกขั้นตอน เพื่อใช้แล้ปัญหาชุมชนตนเองและทุกคนในชุมชนไต้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาร่วมกัน การจัดทำแผนพัฒนาชุมชน นั้น ผู้นำชุมชน จะต้องเป็นผู้ริเริ่มจัดทำโดยสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ดังนี้
1. เตรียมความพร้อมทีมงาน
      1.1         ทีมงานจัดทำแผน
          ผู้นำชุมชนร่วมลับทีมงานพัฒนาชุมชนระดับอำเภอเผยแพร่ความคิด สร้างความรู้ ความเข้าใจ แก่สมาชิกในชุมชนเกี่ยวกับแผนชุมชนถึงกระบวนการเทคนิคการเป็นวิทยากร บทบาทหน้าที่ ความสำคัญใน การจัดทำแผนชุมชน เพื่อล้นหา คัดเลือกบุคคล เป็นคณะทำงานระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ร่วมลับทุกภาคส่วน โดยพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการทำงาน ต้องการทำงานเพื่อชุมชน ชุมชนให้การยอมรับให้ เป็นคณะทำงาน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำตามธรรมชาติ แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) ภูมิป้ญญา ผู้เฒ่าผู้แก' พระสงฆ์ นักวิชาการบ้องถิ่น บุคคลในองค์การ บริหารส่วนตำบล (อบต.) ส่วนราชการ และหน่วยงานเอกชน เป็นต้น
          1.2 ทีมงานผู้ส่งเสรีมกระบวนการจัดทำแผน
          ทีมงานภาคีเครือข่ายในการจัดทำแผน เป็นภาคีการพัฒนาซึ่งมีทั้งภาคราชการ ภาคประชา สังคม สถาบันวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชน จำนวน 19 องค์กร ได้แก่
                1.2.1 ภาคราชการ จำนวน 11 องค์กร คือ กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองส่วน ท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กรมประชาสัมพันธ์ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธกส.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ สำนักงานกองบัญชาการทหารสูงสุด (บก.สูงสุด)
                1.2.2 ภาคประชาสังคม จำนวน 3 องค์กร คือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) และสำนักงานคณะกรรมการกองทุนเพื่อ การวิจัย (สกว.)
                1.2.3 สถาบันวิชาการ จำนวน 2 องค์กร คือ ทบวงมหาวิทยาลัย และสถาบันราชภัฏ
                1.2.4 ภาคเอกชน จำนวน 3 องค์กร คือ มูลนิธิหมู่บ้าน วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.) และสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
2. เตรียมความพร้อมข้อมูลและพื้นที่
      2.1         ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน/ชุมชน (กชช. 2 ค) คือ ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านที่แสดงให้เห็นสภาพทั่วไปและปัญหาต่าง ๆ ของหมู่บ้าน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจ สุขภาพและอนามัย ความรู้และการศึกษา ความเข้มแข็งของชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาพแรงงาน ยาเสพติด ข้อมูลศักยภาพชุมชน
      2.2         พื้นที่ คือ ความพร้อมของพื้นที่มีด้านใดบ้าง เช่น ทุนทางสังคม ได้แก่ บุคคล ภูมิปัญญา ทุนทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ทรัพยากรในการประกอบอาชีพ ทุนของชุมชนที่เอื้อต่อการวางแผนชุมชน
3. ดำเนินการจัดทำแผนชุมชน
          การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนนั้น คณะทำงาน ซึ่งเป็นแกนนำชุมชน ในการจัดทำแผนใช้เวทีประชาคมในการประชุมเพื่อวางแนวทางด้วยกระบวนการกลุ่มชุมชน ดังนี้
      3.1 การศึกษาชุมชนตนเอง
          คณะทำงานชุมชนนำพาสมาชิกชุมชนให้ศึกษาเรียนรู้ชุมชนของตนเอง เช่น สภาพ การเงินของครัวเรือนเป็นอย่างไร สภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอดีตกับปัจจุบันแตกต่าง กันหรือไม่ อย่างไร เนื่องจากเหตุใดสภาพสังคมนั้นพฤติกรรมของคนในชุมชนพึงประสงค์เป็นไปตามจารีตประเพณีวัฒนธรรมเพียงใด เป็นต้น
      3.2         สำรวจรวบรวมข้อมูลชุมชน
          ผู้นำและสมาชิกในชุมชนร่วมกันออกแบบเครื่องมือสำรวจข้อมูลเอง หรือนำแบบสำรวจ ข้อมูลที่หน่วยงานมีอยู่ เช่น กชช. 2ค หรือ จปฐ. มาปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลที่ต้องการทราบ แล้วนำไป สำรวจข้อมูลชุมชน หรือสำรวจข้อมูลโดยการจัดเวทีประชาคม เพื่อเรียนรู้สภาพปัญหาและความต้องการ ของชุมชน ซึ่งผู้สำรวจข้อมูลและผู้ให้ข้อมูล ก็คือ คนในชุมชน นั่นเอง
      3.3 วิเคราะห์ข้อมูล/สังเคราะห์ข้อมูล
คณะทำงานชุมชน ผู้นำชุมชน สมาชิกในชุมชนร่วมกับทีมงานส่งเสริมกระบวนการจัดทำ แผนชุมชน นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา แยกแยะตามประเภทของข้อมูล เช่น ข้อมูลด้านครอบครัว ด้านเศรษฐกิจ ด้านอาชีพ ด้านสังคม ด้านการคมนาคม ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ด้านการ สาธารณสุข ด้านการเมืองการปกครอง ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นด้น ซึ่งจะทำให้ทราบถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหาในชุมชน
      3.4 จัดทำแผนชุมชน มีขั้นตอนดังนี้
          3.4.1 ยกร่างแผนชุมชน คณะทำงานจัดทำแผนเชิญบุคคลที่มีความรอบรู้และมีส่วน เกี่ยวข้องกับการทำแผนประชาชนในชุมชน ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำร่างเด้าโครงของแผนชุมชน จัดทำแผนงาน โครงการกิจกรรมบนพื้นฐานของข้อมูลชุมชนที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ ยึดหลัก แนวทางการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
          3.4.2 ประชาพิจารณ์แผนชุมชน จัดประชุมประชาคมสมาชิกชุมชน เพื่อนำเสนอร่างแผนให้สมาชิกในชุมชนร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมกันพิจารณาตรวจสอบข้อมูล แก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติม แผนงานโครงการ กิจกรรมให้ถูกต้องตามความเป็นจริงและเป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน ประชาชนในชุมชนให้ความเห็นชอบ ยอมรับเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อผลักดันแผนชุมชนให้เกิดการใช้งานได้จริง แล้วจัดทำเอกสารเป็นรูปเล่มที่สามารถอ้างอิง นำไปใช้ในการ ประสานงาน การสนับสนุนให้เกิดโครงการ กิจกรรมตามที่กำหนด ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือการ ดำเนินงานพัฒนาชุมชน และประสานความร่วมมือยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขั้นของสมาชิกในชุมชนและ สามารถตรวจสอบระดับความก้าวหน้าของการพัฒนากับแนวทางที่วางไว้ได้
          กล่าวโดยสรุปแล้ว ทั้งผู้นำและผู้ตาม จะต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนา ชุมชนทุกขั้นตอน ทั้งในด้านการศึกษาเรียนรู้ชุมชน ตนเอง การสำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล เพื่อค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา ยกร่างแผนและจัดทำแผนฉบับสมบูรณ์ เมื่อแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ได้จัดทำแผนพัฒนาชุมชนเสร็จแล้ว ก็นำมาบูรณาการในระดับตำบล/เทศบาล อำเภอ และ จังหวัด เป็นแผนพัฒนาสังคม ดังนี้
                1. คณะทำงานแผนระดับหมู่บ้าน/ชุมชน นำแผนชุมชนตนเองเข้าร่วมบูรณาการแผนชุมชน สังคม ระดับตำบล/เทศบาล โดยคณะทำงานระดับตำบล/เทศบาล เป็นผู้อำนวยการบูรณาการขั้น จากนั้น มอบแผนของหมู่บ้าน/ชุมชน ระดับตำบล/เทศบาล ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาคีเครือข่าย นำไปบูรณาการกับแผนพัฒนาท้องถิ่น และแผนพัฒนาของหน่วยงานภาคีต่าง ๆ และนำไปสู่ การปฏิบัติ
                2. ในระดับอำเภอ ก็จะนำแผนชุมชนมาบูรณาการเป็นแผนพัฒนาระดับอำเภอและ แผนพัฒนาของทุก ๆ อำเภอ ก็จะถูกนำมาบูรณาการเป็นแผนระดับจังหวัด ซึ่งแผนพัฒนาชุมชน สังคมนี้ ภาครัฐก็สามารถนำมากำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี เนื่องด้วยแผนนั้น เกิดขึ้นมาจากการมีส่วนร่วมในการพัฒนาจากประชาชนในท้องถิ่น
                3. คณะทำงานแผน ซึ่งเป็นผู้นำในการจัดทำแผนต้องติดตามผลว่า แผนที่ได้จัดทำขึ้นนั้น มีผลเป็นอย่างไร มีหน่วยงานใดบ้างที่แปลงแผนพัฒนาชุมชนไปดำเนินการ ดำเนินการแล้วมีผลอย่างไร แก้ปัญหาได้หรือไม่ แผนใดไม,ได้รับการนำไปสู่การปฏิบัติ แล้วสรุปเป็นข้อมูล เพื่อใช้เป็นแนวทางใน การจัดทำแผนพัฒนาหมู'บ้าน/ชุมชนในครั้งต่อไป
                4. คณะทำงานแผน ทำการทบทวนปรับปรุงแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้การจัดทำแผนพัฒนาชุมชน สังคมแบบมีส่วนร่วม นั้น เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ศักยภาพยกระดับคุณภาพของคนในหมู'บ้าน/ชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น